ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมงานปั๊มขึ้นรูป
และการผลิตแม่พิมพ์…
ก่อนที่จะถึงขั้นตอนเรื่องของการออกแบบแม่พิมพ์ เรามาดูในเรื่องส่วนประกอบของแม่พิมพ์
1. แบบพิมพ์เขียว
เมื่อวิศวกรได้ออกแบบแม่พิมพ์เรียบร้อยแล้ว
ก็จะถ่ายเป็นพิมพ์เขียวส่งไปยังฝ่ายผลิตแม่พิมพ์เพื่อทำการผลิต พิมพ์เขียวที่ดีจะต้องมีขนาด
และรายละเอียดต่างๆ
อย่างชัดเจนสมบูรณ์เพื่อที่ฝ่ายผลิตจะได้สามารถผลิตได้อย่างคล่องตัวโดยที่ไม่มีปัญหา
2. เครื่องปั๊ม
เครื่องปั๊มชิ้นส่วนแบบหนึ่งซึ่งแม่พิมพ์เราออกแบบขึ้นจะถูกนำมายึดอยู่บนเครื่องนี้
เพื่อทำการปั๊มชิ้นส่วน
3. Die Set
ขอมูลเพิ่มเติมได้จาก
คือชุดแม่พิมพ์ซึ่งประกอบด้วยตัว punch , die และชิ้นส่วนที่จำเป็นต่างๆ โดยในการปั๊มชิ้นงานจะถูกนำมาประกอบใน set นี้
4. แบบของชิ้นงาน
ก่อนที่จะทำการออกแบบแม่พิมพ์จะต้องพิจารณาแบบของชิ้นส่วนให้ละเอียดเสียก่อนว่ามีข้อกำหนดอะไรบ้าง
รวมทั้งปริมาณที่คาดว่าจะทำการผลิตซึ่งจะมีผลต่อการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการทำแม่พิมพ์
5. ชิ้นส่วนต่างๆของแม่พิมพ์
ชื่อชิ้นส่วนต่างๆนี้มีความสำคัญมากจะต้องจดจำให้ดี
เพราะจะต้องมีการกล่าวเสมอในการผลิตแม่พิมพ์
-
Die Block
Die Block ส่วนมากจะทำจากเหล็กกล้าและเมื่อทำการไส เจาะ
และเจียตบแต่งได้ตามแบบแล้วก็จะทำการชุบแข็งตรงส่วนที่จะต้องทำการเจาะหรือตัดชิ้นส่วน
-
Blanking Punch
ใช้สำหรับตัดชิ้นงานให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการโดยการทำให้ส่วนล่างของ
punch มีรูปร่างและขนาดตามชิ้นงานที่ต้องการ
-
Piercing Punch
มีหน้าที่เจาะรูออกจากแผ่น strip หรือ blank ซึ่งส่วนมากจะเป็นรูกลม ส่วนบนจะทำเป็นบ่า สำหรับใส่ใน punch plate ความแตกต่างระหว่าง piercing punch กับ blanking
punch ก็คือ
ถ้าส่วนที่ถูกตัดออกไปเป็นส่วนที่ไม่ใช้งานก็จะเรียกว่า piercing punch แต่ถ้าส่วนที่ถูกตัดออกไปเป็นส่วนที่ใช้งานก็จะเรียกว่า blanking punch
-
สลักนำ ( Pilots)
ส่วนหัวของ pilots จะมีลักษณะกลมมน มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับรูที่ถูกเจาะมาก่อน หัว pilots จะสอดเข้าไปในรูและขยับให้แผ่นสตริ๊ปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องก่อนที่
blanking punch จะทำการตัด
-
Back Gage
มีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นมีความหนาใกล้เคียงกับแผ่นสตริ๊ปยึดติดอยู่บน
die block ช่วงหลัง
ส่วนช่วงหน้าก็มีแผ่นเหล็กหนาเท่ากันแต่สั้นกว่า
-
Stripper Plate
ทำหน้าที่กันไม่ให้แผ่นสตริ๊ปติด punch ขึ้นไป ในขณะที่เครื่องทำการตัดแล้ว
-
Progessive Die
เป็นแม่พิมพ์แบบต่อเนื่องที่ใช้ผลิตชิ้นงาน การออกแบบแม่พิมพ์แบบต่อเนื่องนี้ต้องอาศัยความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับหลักการออกแบบแม่พิมพ์
เพราะถ้ามีช่วงใดที่ออกแบบไม่ดี ชิ้นงานที่สมบูรณ์ก็ไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้
-
Blanking
เป็นการตัดชิ้นงานที่มีเส้นรอบรูปเป็นรูปต่างๆ ออกจากแผ่นสตริ๊ป
และส่วนที่ถูกตัดออกจากแผ่นสตริ๊ปจะเป็นชิ้นงาน ขั้นตอนการทำงานอื่นๆ เช่น การเจาะ
การขึ้นลายนูน หรืออื่นๆ ควรกระทำบนแผ่นสตริ๊ปก่อนที่จะถึงการ blanking
-
Compound
แม่พิมพ์แบบ compound จะทำการ pierce
และ blank พร้อมๆกันที่ตำแหน่งเดียวกัน แม่พิมพ์แบบนี้จะใช้สำหรับชิ้นส่วนที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงมาก
แต่ค่าใช้จ่ายในการสร้างแม่พิมพ์จะมีราคาสูงมากเช่นกัน
-
Trimming
หากเรามีการขึ้นรูปถ้วยเล็กๆ จากโลหะแผ่นบาง
จะพบว่าตรงขอบจะเป็นลูกคลื่นและไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการไหล
และการยึดตัวของแผ่นโลหะไม่สม่ำเสมอ
ขอบที่ไม่เรียบร้อยนี้จะถูกตัดออกโดย trimming die
-
Piercing
เป็นแม่พิมพ์ที่ใช้เจาะให้เกิดรูบนชิ้นส่วน ซึ่งอาจจะเป็นรูกลม รูสี่เหลี่ยม
หรือรูอะไรก็ได้ ตามปกติเราจะใช้แม่พิมพ์เจาะหลังจากที่ชิ้นส่วนผ่านการขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว เพราะเราไม่สามารถที่จะเจาะในขณะที่กำลังขึ้นรูปชิ้นส่วนอยู่และถ้าหากเราจะเจาะรูชิ้นส่วนก่อนขึ้นรูป
ก็จะทำให้เหล่านี้บิดเบี้ยวผิดรูปไปในขณะที่ขึ้นรูปชิ้นส่วน
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือทำการเจาะหลังจากที่ได้ขึ้นรูปชิ้นงานแล้ว